skip to main
|
skip to sidebar
วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2551
เรา
สวัสดีปีใหม่
2551
ผมปรารถนาให้ทุกท่านที่เข้ามาชมมีแต่ความสุข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
บทความใหม่กว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การ์ตูน
Like a Superstar Shaggy EURO 2008
ยินดีต้อนรับ
ท่านที่เข้ามาชม blog ของเรา
ใจ
นวัตกรรม
<นวัตกรรม>
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
นวัตกรรม
>นวัตกรรม>
เวลาในตอนนี้
วันเดือนปี
ประสาทหินพนมรุ้ง
Find More Graphics Comment, Click Here.
สวัสสดีปีใหม่ 2551
เมื่อมีรักมุ่งตรงตามเข้ามา
แค่สบตาตราตรึงถึงหัวใจ
ก็เธอนั้นที่ทำให้ฉันหวั่นไหว
มาโดนใจของคนที่เปลี่ยวเหงา
เช้าชนสายอยากมองแต่หน้าเธอ
ใจพร่ำเพ้อละเมอทุกค่ำเช้า
อยากให้วันนี้ได้มีเพียงสองเรา
ฉันก็คงไม่เหงาอีกต่อไป
เกี่ยวกับฉัน
ต้น
กาญจนบุรี, ทองผาภูมิ, Thailand
จากเพื่อนถึงเพื่อน
ดูโปรไฟล์ทั้งหมดของฉัน
คลังบทความของบล็อก
▼
2008
(5)
มกราคม
(1)
กุมภาพันธ์
(4)
►
2010
(1)
กุมภาพันธ์
(1)
อาจารย์
........ใฝ่ดี ใฝ่รู้ สู้งาน.......
....... ผศ.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์
..... มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, อ.จอมบึง จ.ราชบุรี
.....ป.กศ.สูง วิชาเอกดนตรีศึกษา จาก วค.บ้านสมเด็จพระยา
...ปริญญาตรี กศ.บ.(เกียรตินิยม)มศว.ประสานมิตร
...ปริญญาโท ค.ม.(โสตทัศนศึกษา)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
...นักศึกษาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน
(กลุ่มเทคโนโลยีทางการศึกษา)มหาวิทยาลัยศิลปากร.........
...........บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการเรียนการสอนนักศึกษา
ปีการศึกษา 2550/1 ขอให้นักศึกษาทุกคนตั้งใจเรียน ขยันหมั่นเพียร
รักเขียนอ่านเพื่ออนาคตที่สดใส ส่วนท่านที่เป็นบุคคลภายนอกที่ไ
ด้เข้ามาชมบล็อกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบรรยากาศการเรียนการสอนโดยใ
ช้บล็อกเข้ามาช่วย ถ้าท่านมีข้อสังเกตประการใดโปรดชี้แนะ
หรือสะท้อนความคิดเห็นให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนทราบได้ทันที
เพื่อจะได้แก้ไขปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
การใช้สี
การใช้สี (Colour)
1. คิดก่อนว่าอยากให้รูปภาพที่วาดออกสีโทนร้อนหรือโทนเย็น
""สีโทนเย็นแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้""
**กลุ่มที่1 เหลือง เขียวอ่อน เขียวแก่
**กลุ่มที่2 น้ำเงิน เขียวแก่ เขียวอ่อน
**กลุ่มที่3 ดำ น้ำเงิน เขียวแก่
**กลุ่มที่4 ดำ น้ำเงิน เขียวแก่ เขียวอ่อนเหลือง""
สีโทนร้อนแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้"
กลุ่มที่1 เหลือง ส้ม แดง
กลุ่มที่2 ส้ม แดง น้ำตาล
กลุ่มที่3 แดง น้ำตาล ดำ
กลุ่มที่4 เหลือง ส้ม แดง น้ำตาล ดำ""
**วรรณะของสี (Tone Color)""
....1. สีโทนร้อน (สื่อตื่นเต้น)
....2. สีโทนเย็น (สบายตา)""
**เทคนิกการใช้สี""
....1. สีกลมกลืน
....2. สีตัดกัน
หน่วยที่ 6 วิธีระบบ( System Approach)
วิธีระบบ (System approach) ได้มีการกล่าวถึงอ้างอิงกันมาก จริงๆ แล้วเกือบจะทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดตามธรรมชาติจะถือว่าประกอบด้วยระบบ อยู่ทั้งนั้น จักรวาลจัดเป็นระบบที่ใหญ่ที่สุดที่เรารู้จัก มนุษย์เป็นระบบย่อยลง มา ระบบแต่ละระบบมักจะประกอบด้วยระบบย่อย (subsystem) และแต่ละระบบย่อยก็ยังอาจจะประกอบด้วยระบบย่อยลงไปอีกวิธีระบบ คือแนวทางในการพิจารณาและแก้ไขปัญหาซึ่งแนวทางดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมา เพื่อให้มีความผิดพลาดน้อยที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ให้คุ้มค่าที่สุด ( Allen, Joseph and Lientz, Bennet p. 1978) ในปัจจุบันจะพบว่า วิธีระบบนั้นถูกนำไปใช้ในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง วิธีระบบจะเป็นตัวจัดโครงร่าง (Skeleton) และกรอบของงานเพื่อให้ง่าย ต่อการที่จะนำเทคนิค วิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ มาใช้ การทำงานของวิธีระบบจะ เป็นการทำงานตามขั้นตอน (step by step) ตามแนวของตรรกศาสตร์ ผู้ใช้วิธีระบบจะต้องเชื่อว่า “ ระบบ” ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ ซึ่งกันและกัน (interrelated parts) และเชื่อว่าประสิทธิผล (effectiveness) ของระบบนั้นจะต้องดูจากผลการทำงานของระบบมิได้ดูจากการทำงานของ ระบบย่อยแต่ละระบบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ภายในระบบและค้นหาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระบบย่อย โดยนำ วิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า “วิธีระบบ” (System Approach)
http://www.o2blog.com/myblog/blog.php?month=&year=&user=samart&page=&syear=&smonth=&sdate=&style=1&id=100
ระบบ (System)หมายถึง การรวมกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ หากสิ่งใดหรือกระบวนการใดมีการเปลี่ยนแปลง จะกระทบกระเทือนสิ่งอื่น ๆ หรือกระบวนการอื่น ๆ ไปด้วยสรุป ได้ว่าระบบจะต้องมี 1. องค์ประกอบ 2. องค์ประกอบจะต้องมีความสัมพันธ์กัน 3. ระบบต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ
http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page02004.asp
องค์ประกอบของระบบและวิธีระบบ ระบบโดยทั่วไป จะมีองค์ประกอบดังนี้ 1 สิ่งนำเข้า (Input) ได้แก่ การกำหนดปัญหา จุดมุ่งหมายทรัพยากรที่ใช้ 2 กระบวนการ (Process) ได้แก่การลงมือแก้ปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูล การนำวัตถุดิบมาใช้ มาจัดกระทำอย่างเหมาะสมเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย 3 ผลผลิต (Output) คือผลที่ได้จากการแก้ปัญหาหรือสรุปการวิเคราะห์เพื่อประเมินต่อไป 4 ผลย้อนกลับ (Feedback) คือ การตรวจสอบผลผลิต เพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพต่อไปซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวจะมีความสัมพันธ์กัน ในการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการแก้ปัญหาเพื่อทำให้ผลที่ได้มี ประสิทธิภาพการดำเนินงานลักษณะนี้เรียกว่า วิธีระบบ (System Approach) ระบบ คือภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มี การจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆที่รวมกันอยู่ในโครงการหรือ ขบวนการนั้นระบบเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทีใช้ในการวางแผน และดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ 1. ข้อมูลวัตถุดิบ ( Input ) 2. กระบวนการ ( Process) 3. ผลผลิต ( Output ) 4. การตรวจผลย้อนกลับ ( Feedback) วิธีการระบบที่ดี จะต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสม กับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ถ้าระบบใดมีผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมากกว่า ข้อมูลวัตถุดิบที่ป้อนเข้าไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบที่มีคุณภาพ ในทางตรงข้ามถ้าระบบ มีผลผลิตที่ต่ำกว่าข้อมูลวัตถุดิบที่ไปใช้ ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ ลักษณะสำคัญของวิธีระบบ 1. เป็นการทำงานร่วมกันเป็นคณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบนั้น ๆ 2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ 3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม 4. เป็นการแก้ปัญหาใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อสะดวกในการแก้ปัญหา อันจะเป็นผลให้แก้ปัญหาใหญ่ได้สำเร็จ 5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง 6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้และเป็นปัญหาเร่งด่วนก่อน องค์ประกอบของระบบไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตาม จะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1. สิ่งที่ป้อนเข้าไป ( Input ) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการ หรือโครงการต่างๆ เช่น ในระบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน อาจได้แก่ ครู นักเรียน ชั้นเรียน หลักสูตร ตารางสอน วิธีการสอน เป็นต้น ถ้าในเรื่องระบบหายใจ อาจได้แก่ จมูก ปอด กระบังลม อากาศ เป็นต้น 2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน ( Process) หมายถึง การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไป มาจัดกระทำให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น การสอนของครู หรือการให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น 3. ผลผลิต หรือการประเมินผล (Output) หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หรือผลงานของนักเรียน เป็นต้น ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สองการวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) การวิเคราะห์ระบบ เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผลมาพิจารณาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วิธีระบบที่นำมาใช้ในการสอน ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การประเมินความจำเป็น 2. การเลือกทางแก้ปัญหา 3. การตั้งจุดมุ่งหมายทางการสอน 4. การวิเคราะห์งานและเนื้อหาที่จำเป็นต่อผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมาย 5. การเลือกยุทธศาสตร์การสอน 6. การลำดับขั้นตอนของการสอน 7. การเลือกสื่อ 8. การจัดหรือกำหนดแหล่งทรัพยากรที่จำเป็น 9. การทดสอบ และ/หรือ ประเมินค่าประสิทธิภาพของแหล่งทรัพยากรเหล่านั้น 10. การปรับปรุงแก้ไขแหล่งทรัพยากรจนกว่าจะเกิดประสิทธิภาพ 11. การเดินตามวัฏจักรของกระบวนการทั้งหมดซำอีก
ที่มา :
http://senarak.tripod.com/system.html1
เขียนโดย kungfirefly
สรุปปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แนวคิดหลักเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์เป้าหมายมุ่งให้เกิดความสมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งทางวัตถุ สังคมและสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดีหลักการความพอเพียง หมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในเงื่อนไขพื้นฐาน (ความรู้คู่คุณธรรม)
1.จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน
2. การเสริมสร้างจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม
สรุปการบรรยายพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง”
เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา (ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล) ได้ให้เกียรติมาบรรยายพิเศษเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ให้สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับฟัง ดังนี้ ประเด็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมีฐานแนวคิดที่สะท้อนมาจากผลการพัฒนาของประเทศไทยตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันและสถานการณ์โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว อาจกล่าวได้ว่าเวลานี้ระบบเศรษฐกิจโลกเหลือเพียงขั้วเดียวคือขั้วเสรีนิยมหรือทุนนิยมหรือบริโภคนิยม ซึ่งในโลกทุนนิยมนี้ประเทศต่างๆ มุ่งแสวงหาความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจเป็นที่ตั้ง และลักษณะสำคัญคือ แสวงหาความร่ำรวยจากการลงทุน การบริโภคถือเป็นทฤษฎีหลักของระบบทุนนิยม ถ้าปราศจากจุดนี้แล้วถือว่าเจริญไม่ได้ เพราะฉะนั้น จึงเกิดภาวะของการแข่งขันกันอย่างรุนแรงและมีการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคอยู่ตลอดเวลา โดยการกระตุ้นกิเลส ทำให้เกิดการอยาก ซึ่งจะทำให้ระบบนี้อยู่ได้อย่างไรก็ตามสินค้าที่นำมาบริโภคทุกอย่างต้องผลิตมาจากวัตถุดิบที่มาจากทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาแปรรูปเพื่อให้ใช้งานได้ขณะเดียวกันเมื่อมีการบริโภคก็ก่อให้เกิดของเสียออกมาในปริมาณเกือบจะเท่ากัน ฉะนั้นโลกจะต้องรับภาระอย่างมาก คือจะต้องป้อนวัตถุดิบเพื่อการบริโภคและหลังจากนั้นต้องแบกรับภาระขยะของเสียที่มาจากการบริโภค โดยที่การจัดการเรื่องกำจัดขยะเสียยังทำได้น้อยมาก การนำกลับมาใช้ใหม่มีแค่ 19 % ยิ่งเวลานี้มีการอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคจะเห็นว่าสินค้าประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งมีจำนวนมากปัญหาคือทรัพยากรธรรมชาติจะแบกรับไหวหรือไม่ คำตอบก็คือไม่ไหว เพราะเวลานี้ทั่วโลกมีการบริโภคในอัตรา 3 : 1 คือทรัพยากรธรรมชาติถูกบริโภคไป 3 ส่วนแต่สามารถชดเชยกลับมาได้เพียง 1 ส่วน ซึ่งถ้ายังคงมีการบริโภคกันในอัตรานี้ต่อไปก็จะต้องพบกับปัญหาในที่สุด อย่างไรก็ตามได้เริ่มมีกระแสของกลุ่มคนที่มีปัญญาเกิดขึ้นเพราะเริ่มมองเห็นถึงภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อสภาวะโลกปัจจุบันในประเทศไทยตั้งแต่มีแผนพัฒนาฉบับแรก ใน ปี 2505 ประเทศไทยได้มีการพัฒนาตามรูปแบบของทุนนิยมเช่นกันเพราะในตอนที่คิดจะทำแผนพัฒนาฯ ได้มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศเข้ามาสอนวิชาการวางแผนให้ โดยมีการนำเอาปรัชญาการวางแผนแบบตะวันตกเข้ามาด้วยคือมุ่งสร้างความร่ำรวยทางด้านเศรษฐกิจอย่างเดียว ซึ่งประเทศไทยก็ได้มีการพัฒนาให้เจริญเติบโตขึ้นจริงแต่เป็นความเจริญเติบโตที่สร้างและแลกกับการต้องสูญเสียป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลายล้างไปเป็นจำนวนมากจะเห็นว่าความเจริญเติบโต ซึ่งได้ดำเนินมา ตั้งแต่ปี 2505บัดนี้ มีเหตุการณ์หนึ่งที่ก่อให้เกิดวิกฤตต่อเศรษฐกิจของประเทศ คือโตแล้วแตก เป็นสัจธรรมอย่างหนึ่งคือ เมื่อเศรษฐกิจโตมากขึ้น ในที่สุดก็จะแตกออก และก็จะมาเริ่มต้นกันใหม่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการมองหาว่าอะไรคือสาเหตุของวิกฤตการณ์ฟองสบู่แตกครั้งนั้นจะพบว่า เป็นเพราะการเติบโตของไทยอยู่บนฐานที่ยังไม่มีความพร้อมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงว่าการพัฒนาบ้านเมืองเหมือนการสร้างบ้านเวลาที่ม การสร้างบ้านสิ่งแรกที่ต้องทำคือต้องวางฐานรากฝังเสาเข็ม และเสาเข็มแต่ละต้นจะ ถูกคำนวณมาแล้ว ว่าต้องแบกน้ำหนักเท่าใดแล้วจึงสร้างบ้าน แน่นอนว่าถ้าเสาเข็มวางไว้สำหรับบ้านสองชั้นก็จะแบกรับได้แค่บ้านสองชั้นเท่านั้น การพัฒนาประเทศก็เช่นกันแต่ที่ผ่านมาประเทศไทยเหมือนการย่างก้าวเข้าสู่การพัฒนา โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงฐานรากของประเทศซึ่งน่าจะมีฐานในภาคการเกษตรแต่กลับมุ่งไป สู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่มีความต้องการปัจจัยสำคัญ 3 เรื่อง คือ 1) เงิน ซึ่งประเทศไทยอาจมีไม่พอก็ไปกู้มาเพิ่ม 2) เทคโนโลยี ซึ่งประเทศไทยไม่เคยสร้างอะไรขึ้นมาเองก็จะนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมาใช้ 3) คน ซึ่งมาตรฐานการศึกษาของไทยต่ำลง มหาวิทยาลัยมากขึ้นแต่คุณภาพลดลง แต่ถ้าคนที่รู้ด้านการในประเทศไม่มีก็ไม่เป็นไรอีกก็จ้างต่างชาติเข้ามา จะเห็นว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยตั้งอยู่บนฐานของคนอื่นทั้งสิ้นและ เมื่อมีการก็ย้ายฐานการลงทุนออกไปเศรษฐกิจก็ล้มในที่สุดสถานการณ์นี้เป็นวัฏจักร ของการพัฒนาเหมือนกับวัฏจักรเชิงพุทธคือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงยึดหลักการพอดีตั้งแต่แรกโดยให้มีการพัฒนาไปตามขั้นตอน เป็นระยะ ๆเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เศรษฐกิจสำหรับคนยากคนจน ไม่ใช่เศรษฐกิจที่จะต้องมาห่อตัว พระองค์ท่านให้ร่ำรวยแต่ร่ำรวยแล้วต้องรักษาให้คงอยู่ร่ำรวยและต้องยั่งยืนและ ต้องกระจายอย่างทั่วถึงพระองค์ท่านรับสั่งให้คำไว้สามคำเป็นหลักสามประการ และฐานใหญ่ไว้หนึ่งฐานเป็นแนวทางของการพัฒนาประเทศและจะนำไปใช้ ในการบริหารงานในองค์กรใดๆ ก็ได้ ดังนี้ประการที่หนึ่ง ให้ใช้เหตุผลอย่าใช้กิเลสตัณหา เป็นเครื่องนำทางอย่าเอาแต่กระแสต้องมีความกล้าหาญเพียงพอที่จะเลือกหนทางว่า ประเทศไทยต้องการจะพัฒนาไปทางไหนไม่จำเป็นต้องตามกระแสของโลกประการที่สอง ทำอะไรพอประมาณ การพอประมาณคือตรวจสอบศักยภาพของตนเองก่อน ฐานของตนเองอยู่ตรงไหน การจะพัฒนาอะไรต้องดูจากศักยภาพที่มีความเข้มแข็งก่อนประการที่สาม ทำอะไรให้มีภูมิคุ้มกันตลอดเวลา เพราะไม่รู้พรุ่งนี้จะมีอะไรเกิดขึ้นปัจจุบันสถานการณ์ต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การวางแผนพัฒนาทำได้ยากมีปัจจัยความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา จึงต้องมีวิสัยทัศน์ ตัวอย่างเช่น เรื่องราคาน้ำมันต้องมองในอนาคต ถ้านำไบโอดีเซลมาใช้จะช่วยลดความเสี่ยงด้านราคาน้ำมันได้หรือไม่ เป็นต้นนอกจากสามคำนี้พระองค์ท่านทรงให้มีฐานรองรับที่สำคัญอีกคำหนึ่งคือคนต้องดีด้วย ต้องมีจริยธรรมและคุณธรรม มีธรรมาภิบาล พระองค์ท่านทรงวางหลักการไว้ดีมาก แต่ปัญหาเกิดจากยังไม่มีความพยายามที่จะสร้างความเข้าใจกันสุดท้าย คงต้องอันเชิญเป้าหมายในการครองแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อ 60 ปีที่แล้ว ว่าเป้าหมายในการครองแผ่นดินของพระองค์ท่าน คือเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ซึ่งคนไทยทุกคนควรยึดคำนี้เป็นที่มั่น ประโยชน์สุขที่ว่านั้นคือ ไม่ว่าจะมีการสร้างความร่ำรวยหรือการสร้างประโยชน์ใดๆ ต้องให้นำไปสู่ “ความสุข”ของประชาชนทั้งประเทศเป็นเป้าหมายหลัก ที่มา : สรุปการบรรยายพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง”โดย เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา (ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล) วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2549 เวลา 13.30 น.ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ธรรมชาติที่รัก
คนเราทุกคนที่เกิดมาได้เพราะธรรมชาติ...สรรสร้าง....เติมแต่ง...ปรุงแต่ง...ให้เราได้มีลมหายใจ...ได้มองเห็นในสิ่งต่างๆ...ได้คิด...ได้สร้าง...อาณาจักรของตน...อีกทั้งยังทำให้เราได้อิ่ม...ได้เสพสุข..กับสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา...นั่นก็คือธรรมชาติ...จึงเปรียบได้เสมือนว่า...ธรรมชาตินั้น...เป็นดั่งบุพการี...ที่ได้อุ้มชู...เลี้ยงดู..ฟูมฟัก...ดั่งเราเป็นเด็กแรกเกิด...แม้เราจะโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว...ธรรมชาติ...ก็ยังคงดูแลเราอยู่...มิรู้ลืม...มิหนีหาย...ไปจากเรา...แต่อย่างใด...แต่ทุกวันนี้...เรายิ่งโต...ก็ยิ่งกลับไปทำลายธรรมชาติ...เปรียบได้ดั่ง...บุตรฆ่าบุพการี..ดั่งโศกนาตกรรม...ที่ไม่มีใครมาเหลียวแล...ไม่มีใครมาสนใจ...จึงทำให้ธรรมชาติเสียสมดูล...และตายในที่สุด...
" จากเพื่อนถึงเพื่อน "
เพื่อนพวกพ้องพานพบก็ฮาเฮ
เพื่อนห่างหายโหยหวนก็หดหู่
แสนโศกเศร้าแสบทรวงอกเพื่อนโปรดรู้
ไห้หดหู่เหือดแห้งนำตาซึม
รอรอรอเลือนลางร้างดวงจิต
คิดคิดคิดคร่ำครวญใครคนหนึ่ง
เรารักเพื่อนเพื่อนรักเราเราก็ซึ้ง
เพื่อนคนหนึ่งคิดถึงซึ่งสุขใจ
http://poem.meemodel.com/friend/25256.html
เพื่อนช่วยเพื่อน ตลอดไป ได้เสมอ
เพื่อนจะเผลอ เพื่อนจะพลาด ซักแค่ไหน
ความเป็นมิตร ยังติดอยู่ คู่แรงใจ
ให้ก้าวไป ในสิ่ง ที่ต้องการ
เพื่อจะทุกข์ เสียน้ำตา และร้องไห้
ความห่วงใย ทีมีนั้น ยังคอยสาน
ประกอบใจ ของเพื่อนนี้ ที่แหลกราญ
พาพ้นผ่าน ความทุกข์ช้ำ ที่ค้ำใจ
แม้เวลา เนิ่นนาน ผ่านจากนี้
แต่สิ่งดี จะยังอยู่ ไม่หวั่นไหว
ถึงเวลา จะผ่าน นานเท่าไร
แต่จิตใจ มีเพื่อน ตลอดมา
จะไม่ลืม เพื่อนคนนี้ ชั่วชีวิต
อยู่เป็นมิตร คอยดูแล และรักษา
ให้ความรัก คงอยู่ ตลอดมา
มิตรภาพ จะล้ำค่า ตลอดไป
ผู้ชม
Kiteboarding Lessons
แมนยูฯ
เวบลูกเล่น
http://www.zwani.com/graphics/dolls/mini_disney_dolls/
http://www.dolliecrave.com/
http://www.dressupmyspace.com/
http://www.dollielove.com/
http://intreelek.blogspot.com
http://dseason.com/coolsong/
http://www.myglitterromance.com/
love
Free Generators
เพื่อน
http://bunsri28.blogspot.com
http://liwmath.blogspot.com
http://ratscience.blogspot.com
http://siriphon5555.blogspot.com
http://tamjung5.blogspot.com
http://suputta1234.blogspot.com
grnjvo
http://larnna19.blogspot.com/
http://siriporn5555.blogspot.com/
http://nuijang17.blogspot.com/
http://krumhong.blogspot.com/
http://mono9990.blogspot.com/
http://%20jsukkasam.blogspot.com/
http://kungfirefly.blogspot.com/
http://ohmai31.blogspot.com/
http://pookwara6.blogspot.com/
http://s494102015.blogspot.com/
http://
nuttany456
.blogspot.com
ลงคะแนนให้หน่อยนะ
ให้คะแนนเว็บนี้!
--
10
9
8
7
6
5
4
3
2
1
วิทยุคนวัยมันส์
ฝากข้อความ
ข่าว
เวบไซต์ต่างๆ
ข่าวการศึกษา
วัยรุ้นเซ็ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น